วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องสมดุลความร้อน


ความร้อน
-พลังงานความร้อน
-พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
-สมดุลความร้อน
-การถ่ายเทความร้อน
-สมบัติของแก๊สในอดมคติ
-กฎของบอยด์(Robert Boyle)
-กฎของชาร์ล(Charles’s law)
-กฎของเกย์-ลูกแซก(Gay-Lussac’s law)
-แบบจำลองของแก๊ส
-ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
-การหาอุณหภูมิผสมและความดันผสมจากทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
-พลังงานภายในระบบ
-การประยุกต์
-ตัวอย่างการคำนวณ





เรื่องสมดุลความร้อน


สมดุลความร้อน
เมื่อเราเอาน้ำร้อนและน้ำเย็นมาเทผสมรวมกันจะได้น้ำอุ่น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเกิด สมดุลความร้อน ซึ่งอธิบายได้ว่า เมื่อน้ำร้อนและน้ำเย็นผสมกันจะมีการถ่ายเทความร้อน โดยน้ำร้อนจะถ่ายเทพลังงานความร้อนมาให้น้ำเย็น(พลังงานความร้อนมีการถ่ายเทไปสู่วัตถุเย็นกว่าเสมอ)ทำให้น้ำเย็นมีอุณหภูมิเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งน้ำร้อนอุณหภูมิต่ำลง ในขณะน้ำเย็นมีอุณหภูมิค่อยสูงจน จนน้ำร้อนและน้ำเย็นมีอุณหภูมิเท่ากันก็จะได้น้ำอุ่น นั่นแสดงว่า น้ำเข้าสู่ภาวะ สมดุลความร้อนแล้ว
เสถียรภาพของสมดุล(Stability of balance)
เสถียรภาพของสมดุล
      เสถียรภาพของสมดุลสามารถแบ่งได้ดังนี้
   1.สมดุลเสถียร  คือสภาพสมดุลของวัตถุซึ่งมีลักษณะที่วัตถุสามารถกลับสู่สภาพสมดุลที่ตำแหน่งเดิมได้ โดยเมื่อแรงกระทำกับวัตถุที่อยู่ในสมดุลเสถียร จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่สูงกว่าระดับเดิม แต่เมื่อเอาแรงออก วัตถุจะกลับสภาพเดิม
   2. สมดุลสะเทิน  คือสภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะสามารถคงสภาพสมดุลอยู่ได้ โดยมีตำแหน่งสมดุลที่เปลี่ยนไป
   3. สมดุลไม่เสถียร  คือ สภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น